เลือก IOT Platform อย่างไรดี

สวัสดีกันอีกครั้งครับ  วันนี้จะมาชวนคิดว่า  ใคร  ควรจะเลือก IOT Platform ไหนดี

ที่แน่ๆ  คือ  ทุกคน คงไม่ชอบ  ไม่เลือกเหมือนกัน เพราะปัญหาแต่ละคนต่างกัน  มีความต้องการต่างกัน  เก่งเรื่อง IOT ไม่เท่ากัน

  • บางท่านก็เพื่อใช้เล่นสนุกๆ  สวยๆ  เท่ห์
  • แต่เกษตรกรตัวจริง  หรือผู้ที่ต้องใช้งานจริงๆ ก็น่าจะเน้นเรื่องที่มันจะต้องทำงานได้ตามความต้องการ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริง
  • และแน่นอน  น่าจะต้องการมีที่ปรึกษาเมื่อใช้งานจริง
  • กรณีนี้เราจะไม่พูดถึง ท่านที่เก่งเรื่อง IOT และ  Software Platform  อยู่แล้ว  ที่หลายท่านก็อาจจะเขียนใช้เองไปเลย  หรือ บางคนก็เลือกใช้ platform ที่มีอยู่ในท้องตลาด  เช่น  Thingsboard, Nod-Red, Grafana, และอื่นๆ
  • ประเด็นเรื่องจำนวน Device ที่เราจะ run  ในโครงการก็มีความสำคัญ  มันจะรองรับหลัก 100 – 1000 ได้ไหม หรืองานเราจะทำแค่ ไม่เกิน 10 บอร์ดเป็นต้น  หรือ อย่างเช่น  node-red 1 ระบบจะรองรับ Device มากๆ อย่างไร
  • ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ใช้งานด้าน  Smart Farm หรือ Smart Building  ก็น่าจะวุ่นกับการทำอย่างไร  เขียนโปรแกรมอย่างไรให้ตรงกับสถานการณ์   กรณีนี้จึงจะอยากที่จะเขียนการควบคุมที่บอร์ดมากกว่าจะไปทำที่  Platform
  • บางคนอาจจะอยากแค่ให้ตัววัดส่งค่าขึ้นไปบน Server แล้วค่อยไปโปรแกรมบน Server  ในกรณีนี้ถ้าเน็ตหลุดก็คงจะลำบาก
  • ดังนั้นจะทำอย่างไรให้บอร์ด ที่อยู่ที่หน้างาน มันฉลาดช่วยเหลือตัวเองได้แม้นว่าเน็ตจะหลุด
  • บางคนก็จะเลือก 2 แบบ  คือ  เล่นมันทั้ง สอง ที่ คือ จัดการที่บอร์ดด้วยและจัดการบน Platform
  • และอีกเรื่องที่สำคัญคือ การทำ OTA Firmware Update
  • และอีกเรื่องที่สำคัญคือ  ต้องสั่งปิดเปิด  จากมือถือได้ และตั้งเวลาได้
  • และมากไปกว่านั้น  บางท่านอาจจะต้องการรีเลย์จำนวนมาก  ในขณะที่บาง Platform ไม่สามารถ action หรือเล่นกับรีเลย์ได้เลย

 
สำหรับ Platform  ของเรา  มีความสามารถอย่างไร

  1. ออกแบบให้ใช้กับสมาร์ทโฮมได้  สมาร์ทฟาร์มได้  Smart Building ได้  Smart Factory ก็ได้  ตรงนี้เรียกว่าเป็นระดับ Application
  2. ยกตัวอย่าง ฟาร์ม เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไปพร้อมๆ กัน  สัตว์ก็มีหลายชนิด เช่น ไก่  แกะ แพะ หมู โคนม  แต่ละชนิดก็มีหลายคอก หลายเล้า  ในแต่ละเล้าก็มีอุปกรณ์ให้อาหาร อุปกรณ์จัดการเรื่องน้ำ  เรื่องพัดลม เรื่องเปิดปิดประตู
  3. จากข้อ 2  ระบบ ได้ออกแบบให้สามารถ ตั้งชื่อ ฟาร์ม  เป็นไปตามฟาร์ม พืช  สัตว์แต่ละชนิด
  4. ออกแบบให้แยกเป็น  เล้าไก่ 1,2,3   เล้าหมู 1,2,3,4  ไปเรื่อยๆ   โดยเราเรียก  เล้าแต่ละเล้าว่าเป็น System
  5. จากนั้นในเล้า  ก็จะมี Device ต่างๆ ลงไปอีก  มีหน้าที่แตกต่างกันไป ควบคุมอุปกรณ์ ปั๊มน้ำ การให้อาหารอะไรก็ว่าไป
    1. Device ในการออกแบบของเราคือ  บอร์ด  ที่มี  MCU  เช่น  esp8266, esp32, Heltec LoRa, Rasberry Pi
    2. บนบอร์ดนั้นๆ จะมีรีเลย์  4, 6, 8, 12 ก็แล้วแต่งาน
    3. บนบอร์ดจะต่อเซนเซอร์ได้มากมาย  และส่งค่าขึ้น Platform ได้ครั้งละ 20 ค่า  และจะมากกว่านั้นก็ได้ (ในอนาคต ตอนนี้แค่นี้ก่อน)
    4. บนบอร์ดเราจะมี RTC ด้วยเสมอ
    5. บอร์ดจะไม่ตายเมื่อเน็ตหลุด และจะทำการช่วยเหลือตัวเองตามค่าตัวแปรที่ปลอดภัย
  6. รองรับ Aplication, System Devices ได้ไม่จำกัด  ไม่ทำงานไขว้กันไปมา
  7. เราสามารถย้ายอุปกรณ์ใน Platform เหมือนการย้าย อุปกรณ์จริงๆ ออกไปใช้ ในส่วนอื่นๆ  ซึ่งในชีวิตจริงก็เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
  8. บน Platform  เราสามารถจัดการอะไรกับแต่ละ Device ได้บ้าง
    1. ตั้งเวลา  Timer ได้ถึง 20 ตัว
    2. ตั้งค่า สูงต่ำ  ของค่าควบคุม ได้ 20 ค่าตัวแปร    ดังนั้นจะมีค่าสูงต่ำ  20 คู่
    3. ตั้งชื่อค่าของข้อมูลที่ส่งมาได้ว่าจะให้ชื่ออะไร  เช่น อุณหภูมิในเล้า  อุณหภูมินอกเล้า   และเปลี่ยนได้ตลอดทุกวันโดยข้อมูลไม่สับสน
    4. มี  API  รอรับการร้องขอค่าสถานะ  ค่าตัวแปรควบคุม  ให้อุปกรณ์มารองรับ
    5. ให้เราทำการส่งแจ้งเตือนทางไลน์ได้
    6. ให้ระบบหยุดบันทึกข้อมูลได้  โดยระบบที่หน้างานยังคงทำงานได้
    7. ส่งข้อมูลออกมาเป็น excel  ได้  ส่งออกมาได้ที่ละเล้าก็ได้ หรือ ทีละตัวก็ได้
    8. นั่งดู Trend ของทุกตัวทุกเล้าได้  ย้าย (assign) สังกัดของ Device ได้
    9. ตั้งเวลาให้ระบบทำการอัพเดท Firmware ด้วย OTA ได้
  9. ในข้อ 7  นั้นปกติจะทำบนคอมพิวเตอร์  แต่เราก็ออกแบบให้ทำบน  มือถือได้  ทั้งแบบ browser และแอพ แอพ ๆๆๆ (ตอนนี้ทำไว้เฉพาะแอพ Andriod ก่อน)
  10.  มีที่ปรึกษาเป็นคนไทย  มีโปรแกรมเมอร์เป็นของตัวเอง  พัฒนาด้วย Angular , Node Js   ดังนั้น ท่านจึงจะไม่มีปัญหาในด้านการใช้งาน
  11. เราทำ Platform บนระบบ DataCenter ของเราเอง  จึงมีต้นทุนต่ำ  สามารถให้บริการในราคาที่ถูกกว่าได้


จุดด้อยของระบบเรา

  1. เราเพิ่งพัฒนามา 2 ปี ความสวยงามอาจจะสู้ไม่ได้  แต่ฟังก์ชั่นที่จำเป็น เรามีครบ และกำลังทำให้สวยขึ้นไปอีก
  2. ยังไม่ถึงขั้น Drag & Drop แต่คาดการณ์จะแล้วเสร็จในปี 2565  โดยผู้ใช้ไม่มีปัญหาเรื่องต้องขนย้ายข้อมูล

บางคนบางแนว  ก็เป็นการวิจัย  วัดค่าขึ้นไปอย่างเดียว  แล้วค่อยไปจัดการบน Platform นั่นก็ว่ากันไป
บางคนก็อาจะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือพิเศษ  ถ้าแบบนี้การใช้  Thingsboard ก็น่าจะเป็นทางเลือก
ทุก Platform ต้องมีการเรียนรู้การใช้งาน  จึงมีความยากเสมอ เมื่อต้องเริ่มของใหม่
ต้องลองให้ทำงานได่ซักบอร์ด แล้วจะทราบว่า มันไม่ธรรมดาครับ

นอกจากนี้  เรากำลังพัฒนา แพลตฟอร์มพี่ใหญ่  สำหรับรองรับโครงการสมาร์ทซิตี้  โดยข้อมูลจากแพลตฟอร์ม  Otrixiot นี้จะถูกเชื่อมไปยังระบบใหญ่ด้วยและท่านจะสามารถใช้ feature การวิเคราะห์ข้อมูลได้