Ethernet-WiFi-GSM เลือกศึกษา เรื่องใช้อะไรดี

Arduino ได้ทำให้กลุ่มผู้สนใจทั้งนักอิเลกทรอนิกส์เดิม  ทั้งนักคอมพิวเตอร์  นักการเกษตร  นักลงทุน  และอีกมากหลายนัก  เข้ามาศึกษาสนใจจะเอสไปใช้งาน  ซึ่งก็มีลักษณะงานที่หลากหลายเช่นกัน   และตัวผลิตภัณฑ์ของ Arduino เองก็มีมากมายด้วยเช่นกัน  และเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จะนำไปสร้างงานที่มีความเฉพาะอย่างมากขึ้น
ความยากของการที่จะได้ประโยชน์จาก Arduino จึงไม่ใช่เรื่องการเขียนโค้ด  หรือการประกอบร่าง  แต่ยากและท้าทายที่จะต้องคิดว่า  จะเอามนไปแก้ไขปัญหาอะไรดี  หรืออีกแนว  จะเอามันไปผลิตอะไรออกมาขายดี
คนที่จะมีไอเดียคิดออก  หรือเจอคำตอบที่รอคอยมาแสนนานนั้น  จึงต้องเป็นนักคิด  กล้าคิดกล้านำเสนอ  กล้าให้ผู้คนท้าทาย   และมันจะต่อยอดไปสู่สิ่งที่ล้ำจริงๆ
ในการใช้งาน Arduino นั้น  มีโอกาสความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ   เพื่อให้สามารถใช้งานผลลผลิตจากไอเดียนั้นได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  เลยเป็นคำถามว่า  เราจะใช้ช่องทางไหนดี  สำหรับการเชื่อมต่อออกไปสู่โลกอินเตอร์เนต
Ethernet Shield หรือ  Shield ที่มีพอร์ท ช่องเสียบ Ethernet  แปลว่าเสียบช่องนี้ไปถึงกล่อง Hub ได้เมือ่ไหร่ก็ท่องโลกได้เลย

WiFi ก็เช่นกัน  หากมีสัญญาณ  ชื่อ  ssid และรู้รหัส  pw  ก็ท่องโลกได้โดยไม่ต้องใช้สาย

GSM หรืออะไร ๆ ที่ใช้  SIM จะเป็นแบบ ฺ Built in หรือแบบ ซื้อ ซิมใส่เองก็เช่นกัน  ยิ่งไม่ต้องรอกล่อง Hub Router อะไรพวกนี้เลย

ถามว่าจะต้องเอาอุปกรณ์ทุกตัวใส่ SIm เหรอ  ก็คงตายพอดี  หรือคิดว่าจะลากสาย  ก็คงอาการหนัก
ดู ๆ แล้ว  การมีเกตเวย์ที่ใช้  SIM  แล้วปล่อย WiFi ให้ลูก ๆ รุมเกาะกล่องที่มี  SIM น่าจะเป็นทางออกของการเชื่อมต่อไปสู่โลกกว้าง
ต่อออกข้างนอกแล้ว ไปไหน  เอาข้อมูลไปให้ใคร   ต่อกับใครก็ให้คนนั้นโดยที่เราไม่ค่อยเต็มใจนัก  ผมกำลังจะบอกว่า  หากคุณมีธุรกิจที่ต้องใช้สิ่งเหล่านี้แล้วละก็  มี cloud  ตัวเองนี่ดีสุด  เว้นเสียแต่ว่าคุณจะอยากให้คนอื่นเอาข้อมูลเข้ามาให้คุณ
เขียนเรื่องนี้เพื่อช่วยกำหนดแนวทางการศึกษาของท่านที่สนใจว่า  ควรจะศึกษาเรื่องการเชื่อมต่อแบบไหนก่อน  ให้ลึกซึ้งกว้างขวาง  ส่วนพวกอุปกรณ์อื่น ๆ ก็อย่างเพิ่งไปเสียเวลาศึกษามาก  ค่อยไปขอดูของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ก็ได้  ไม่ต้องเล่นเองทั้งหมด
ว่าแล้วก็มาลุยพวก  GSM กันต่อไป

 

เผยแพร่เมื่อ 31 พ.ค. 2017

ติดตาม 1.4K
3G Module บอร์ดโมดูลสื่อสาร ใช้ชิพสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก Quectel รุ่น UC15-T รองรับคลื่นความถี่ 850/2100 MHz ในระบบ 3G UMTS และรองรับคลื่นความถี่ 850/900/1800/1900 ในระบบ 2G GSM ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงสุดแบบ HSPDA ที่ 3.6 Mbps (downlink) และ 384 Kbps (uplink) ================================================= แฟนเพจ : https://www.facebook.com/Notebook.Fre… เว็บไซต์ : http://notebookfreedom.blogspot.com/ ติดตาม https://twitter.com/notebookfreedom/
============== ที่มา : http://www.nawattakam.com/talk/index.php?topic=1512.0  ==============
AT-COMMAND คือ ชุดคำสั่งมาตรฐาน ที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โมเด็ม หรือ อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เพื่อโต้ตอบตั้งค่าหรือสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้น ให้ทำงานตามที่ต้องการ และสำหรับการติดต่อกับโทรศัพท์มือถือ จะใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า GSM AT COMMAND
ตัวอย่าง คำสั่งที่เป็น BASIC AT COMMAND
AT  ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ถ้าสามารถติดต่อกันได้อุปกรณ์จะตอบกลับมาว่า OK
ATDT phone number;  โทรไปยังเลขหมายปลายทาง (phone number)
ATH    วางสาย
ATA    รับสาย
AT COMMAND ที่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่ง SMS
ชุดคำสั่ง AT COMMAND ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือได้มีอยู่มากมาย ทั้งการอ่านรุ่นโทรศัพท์มือถือ,ตรวจสอบระดับแบตเตอรี่, ตรวจสอบระดับสัญญาณ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่ง SMS เท่านั้น
1) Message Format (AT+CMGF) เป็นคำสั่งกำหนดรูปแบบของข้อความที่จะให้แสดงออกมา โดย
AT+CMGF = 1 คือ แสดงข้อความในรูปแบบ TEXT
AT+CMGF = 0 คือ แสดงข้อความในรูปแบบ PDU CODE
2) List Message (AT+CMGL) เป็นคำสั่งที่ให้แสดงข้อความในสถานะต่างๆ โดยจะแสดงข้อความ
ทั้งหมด มีลักษณะการใช้คำสั่งดังนี้
AT+CMGL=0 คือ แสดงข้อความที่ได้รับแต่ยังไม่ได้อ่าน (“REC UNREAD”)
AT+CMGL=1 คือ แสดงข้อความที่ได้รับและอ่านแล้ว (“REC READ”)
AT+CMGL=2 คือ แสดงข้อความที่เก็บไว้และยังไม่ได้ส่ง (“STO UNSENT”)
AT+CMGL=3 คือ แสดงข้อความที่เก็บไว้และส่งออกไปแล้ว (“STO SENT”)
AT+CMGL=4 คือ แสดงข้อความทั้งหมด (“ALL”)
หมายเหตุ หากกำหนด Message Format เป็น PDU CODE จะต้องเลือกสถานะโดยใช้ตัวเลข 0 ถึง4 แต่หากกำหนด Message Format เป็น Text จะต้องเลือกสถานะโดยใช้ตัวอักษรที่วงเล็บด้านหลัง
3) Read Message (AT+CMGR) เป็นคำสั่งที่ใช้อ่านข้อความที่เฉพาะเจาะจงได้โดยระบุตำแหน่งที่ข้อความนั้นถูกเก็บไว้
4) Send Message (AT+CMGS= “XX”) เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับส่งข้อความซึ่ง “XX”  คือจำนวน Octet ของเลขฐาน 16 ที่ต้องการจะส่งทั้งหมด ยกเว้น Octet แรกที่เป็น “00”


สรุปคำสั่ง
Call control
Command    Description
ATA    Answer command
ATD    Dial command
ATH    Hang up call
ATL    Monitor speaker loudness
ATM    Monitor speaker mode
ATO    Go on-line
ATP    Set pulse dial as default
ATT    Set tone dial as default
AT+CSTA    Select type of address
AT+CRC    Cellular result codes
Data card control commands
Command    Description
ATI    Identification
ATS    Select an S-register
ATZ    Recall stored profile
AT&F    Restore factory settings
AT&V    View active configuration
AT&W    Store parameters in given profile
AT&Y    Select Set as powerup option
AT+CLCK    Facility lock command
AT+COLP    Connected line identification presentation
AT+GCAP    Request complete capabilities list
AT+GMI    Request manufacturer identification
AT+GMM    Request model identification
AT+GMR    Request revision identification
AT+GSN    Request product serial number identification (IMEI)
Phone control commands
Command    Description
AT+CBC    Battery charge
AT+CGMI    Request manufacturer identification
AT+CGMM    Request model identification
AT+CGMR    Request revision identification
AT+CGSN    Request product serial number identification
AT+CMEE    Report mobile equipment error
AT+CPAS    Phone activity status
AT+CPBF    Find phone book entries
AT+CPBR    Read phone book entry
AT+CPBS    Select phone book memory storage
AT+CPBW    Write phone book entry
AT+CSCS    Select TE character set
AT+CSQ    Signal quality
Computer data card interface commands
Command    Description
ATE    Command Echo
ATQ    Result code suppression
ATV    Define response format
ATX    Response range selection
AT&C    Define DCD usage
AT&D    Define DTR usage
AT&K    Select flow control
AT&Q    Define communications mode option
AT&S    Define DSR option
AT+ICF    DTE-DCE character framing
AT+IFC    DTE-DCE Local flow control
AT+IPR    Fixed DTE rate
Service
Command    Description
AT+CLIP    Calling line identification presentation
AT+CR    Service reporting control
AT+DR    Data compression reporting
AT+ILRR    DTE-DCE local rate reporting
Network communication parameter commands
Command    Description
ATB    Communications standard option
AT+CBST    Select bearer service type
AT+CEER    Extended error report
AT+CRLP    Radio link protocol
AT+DS    Data compression
Miscellaneous commands
Command    Description
A/    Re-execute command line
AT?    Command help
AT*C    Start SMS interpreter
AT*T    Enter SMS block mode protocol
AT*V    Activate V.25bis mode
AT*NOKIATEST    Test command
AT+CESP    Enter SMS block mode protocol
SMS commands
SMS text mode
Command    Description
AT+CSMS    Select message service
AT+CPMS    Preferred message storage
AT+CMGF    Message format
AT+CSCA    Service centre address
AT+CSMP    Set text mode parameters
AT+CSDH    Show text mode parameters
AT+CSCB    Select cell broadcast message types
AT+CSAS            Save settings
AT+CRES    Restore settings
AT+CNMI            New message indications to TE
AT+CMGL    List messages
AT+CMGR    Read message
AT+CMGS    Send message
AT+CMSS    Send message from storage
AT+CMGW    Write message to memory
AT+CMGD    Delete message
SMS PDU ode
Command    Description
AT+CMGL    List Messages
AT+CMGR    Read message
AT+CMGS    Send message
AT+CMGW    Write message to memory

Leave a Reply

Your email address will not be published.